การประกวดอ่านฟังเสียงและการพูดต่อหน้าสาธารณชน

1. รูปแบบการประกวดอ่านฟังเสียงในปี ๒๕๖๗ นี้เป็นอย่างไร
การประกวดอ่านฟังเสียงรอบคัดเลือกประกวดในรูปแบบออนไลน์ โดยนักเรียนผู้เข้าร่วมประกวดทุกคนสามารถเข้าระบบเพื่อรับข้อสอบอ่านฟังเสียง ตามวันเวลาที่กำหนด โดยทำการเข้าระบบ บันทึกคลิปอ่านบทข้อสอบ ตามวัน-เวลาที่กำหนด โดยสามารถบันทึกคลิปได้ที่โรงเรียน หรือ สถานที่ที่สะดวก ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เสถียรและเร็วพอ
2. ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เปิดการประกวดอ่านฟังเสียงกี่ระดับ
ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เปิดการประกวดอ่านฟังเสียง ๑ ระดับประถมศึกษา (ป.๑ - ป.๖) ประเภทเดี่ยว ชาย และ หญิง
3. ในปี ๒๕๖๗ โรงเรียนสามารถส่งผู้ประกวดอ่านฟังเสียง ระดับประถมศึกษาได้กี่คน
สถาบันการศึกษาสามารถส่งผู้เข้าประกวดในนามตัวแทนสถาบันการศึกษา ชาย และ หญิง ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าประกวด
4. ทำไมครูถึงต้องกดปุ่มยินยอมเปิดเผยข้อมูลในใบสมัครแล้วถึงทำการสมัครได้
วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลในใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อการติดต่อสมาชิกในการแจ้งข้อมูล ข่าวสาร ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการฯ การประกาศรายชื่อและการใช้ภาพผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการฯ และที่สำคัญทางโครงการฯ ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนที่สมัครเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ขอให้ได้รับการยินยอมให้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครอง จึงมีความจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองลงนามในใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ของเยาวชนทุกคน แล้วครู-อาจารย์ส่งใบสมัครนั้น ๆ เข้าระบบการสมัครเข้าประกวด จึงจะถือว่าการสมัครเสร็จสมบูรณ์
5. ถ้าครู-อาจารย์ที่เคยส่งนักเรียนผู้เข้าประกวดคนเดิม จำเป็นต้องส่งใบสมัครในปี ๒๕๖๗ ใหม่หรือไม่
จำเป็นต้องส่งใบสมัครที่มีผู้ปกครองนักเรียนลงนามใหม่อีกครั้ง เพื่อเป็นไปตาข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ และเป็นการส่งใบสมัครปีต่อปี
6. ถ้าครู-อาจารย์ไม่แน่ใจว่าเคยสมัครเข้าร่วมโครงการฯ หรือไม่ ต้องทำอย่างไร
ให้กรอกอีเมลในช่องสมัครสมาชิกใหม่ ถ้าอีเมลนั้นครู-อาจารย์เคยใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ มาก่อนแล้ว ระบบจะแจ้งยืนยันว่าเคยสมัครเข้าร่วมโครงการฯ มาแล้วอัตโนมัติ
7. ลืม Password ต้องทำอย่างไร
กรอกอีเมล ครู-อาจารย์ ที่เคยสมัครเป็นสมาชิก -> กดลืม Password -> ระบบจะทำการส่ง Password ไปยังอีเมลของท่าน และครู-อาจารย์สามารถกดลิงค์เข้าสู่ระบบแล้วแก้ Password ใหม่อีกครั้ง
8. หากต้องการ เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายชื่อผู้เข้าประกวดและรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร
ครูสามารถทำได้เมื่อเข้าระบบแล้วให้เลือกใบสมัครที่ต้องการแก้ไข -> กดรายละเอียด -> กดแก้ไขใบสมัคร ->เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายชื่อ -> กดบันทึก
9. หากสมัครผิดรุ่นหรือผิดประเภทต้องทำอย่างไร
เลือกใบสมัครที่ต้องการแก้ไข -> กดรายละเอียด -> กดยกเลิกสมัครและทำการกรอกใบสมัครใหม่
10. ครูและนักเรียนที่เข้าประกวดถึงแม้จะไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะได้รับอะไรบ้าง
ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมการประกวดทุกท่านนอกจากจะได้ประสบการณ์การประกวดแล้ว ยังจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากโครงการฯ โดยสามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรได้เองหลังการประกวดรอบคัดเลือกเสร็จสิ้น จำเป็นต้องตรวจสอบรายชื่อ และตัวสะกดให้ถูกต้อง เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขได้หลังจากพิมพ์ใบประกาศนียบัตรแล้ว โดยใบประกาศนียบัตรในปีนี้เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
1. การประกวดการพูดต่อหน้าสาธารณชน (Public Speaking) ในปี ๒๕๖๗ คืออะไร
ทักษะการพูดในที่สาธารณะ ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญอย่างมากต่อการเรียนในระดับอุดมศึกษาและการทำงานในอนาคต จึงจัดประกวดรอบคัดเลือกในรูปแบบออนไลน์ โดยนักเรียนผู้เข้าร่วมประกวดทุกคนสามารถเข้าระบบเพื่อรับข้อสอบการพูดต่อหน้าสาธารณชนล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ตามวันเวลาที่กำหนดเพื่อเตรียมตัว และในวันทดสอบจริง ก็ทำการเข้าระบบ บันทึกคลิปตามโจทย์ที่ได้รับภายในกรอบเวลาที่กำหนด ตามวัน-เวลาที่กำหนด โดยสามารถบันทึกคลิปได้ที่โรงเรียน หรือ สถานที่ที่สะดวก ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เสถียรและเร็วพอ
2. ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เปิดการประกวดการพูดต่อหน้าสาธารณชน (Public Speaking) กี่ระดับ
ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เปิดการประกวดการพูดต่อหน้าสาธารณชน (Public Speaking)
แบ่งเป็น ๒ ระดับ ระดับ ม.๑ - ม.๓ ระดับ ม.๔-ม.๖ และปวช. ประเภทเดี่ยว ไม่แบ่ง ชาย หรือหญิง
3. ในปี ๒๕๖๗ โรงเรียนสามารถส่งผู้ประกวดการพูดต่อหน้าสาธารณชน (Public Speaking) ส่งได้ระดับละกี่คน
สถาบันการศึกษาสามารถส่งผู้เข้าประกวดในนามตัวแทนสถาบันการศึกษา ชายหรือหญิงแต่ละระดับไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าประกวด แต่สามารถส่งนักเรียนคนเดียวกันประกวดได้หลายประเภทการประกวดตามความสามารถของนักเรียนเอง
4. การสมัครเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ต้องให้ครูเป็นผู้ส่งประกวดเพียงวิธีเดียวใช่หรือไม่
การสมัครเข้าร่วมประกวด ต้องให้ครูเป็นผู้ส่งนักเรียนเข้าประกวดในฐานะตัวแทนสถาบันการศึกษา เท่านั้น นักเรียนไม่สามารถสมัครเข้าประกวดเองได้
5. ทำไมครูถึงต้องกดปุ่มยินยอมเปิดเผยข้อมูลในใบสมัครแล้วถึงทำการสมัครได้
วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลในใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อการติดต่อสมาชิกในการแจ้งข้อมูล ข่าวสาร ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการฯ การประกาศรายชื่อและการใช้ภาพผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการฯ และที่สำคัญทางโครงการฯ ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนที่สมัครเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ขอให้ได้รับการยินยอมให้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครอง จึงมีความจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองลงนามในใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ของเยาวชนทุกคน แล้วครู-อาจารย์ส่งใบสมัครนั้น ๆ เข้าระบบการสมัครเข้าประกวด จึงจะถือว่าการสมัครเสร็จสมบูรณ์
6. ถ้าครู-อาจารย์ที่เคยส่งนักเรียนผู้เข้าประกวดคนเดิม จำเป็นต้องส่งใบสมัครในปี ๒๕๖๗ ใหม่หรือไม่
จำเป็นต้องส่งใบสมัครที่มีผู้ปกครองนักเรียนลงนามใหม่อีกครั้ง เพื่อเป็นไปตาข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ และเป็นการส่งใบสมัครปีต่อปี
7. ถ้าครู-อาจารย์ไม่แน่ใจว่าเคยสมัครเข้าร่วมโครงการฯ หรือไม่ ต้องทำอย่างไร
ให้กรอกอีเมลในช่องสมัครสมาชิกใหม่ ถ้าอีเมลนั้นครู-อาจารย์เคยใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ มาก่อนแล้ว ระบบจะแจ้งยืนยันว่าเคยสมัครเข้าร่วมโครงการฯ มาแล้วอัตโนมัติ
8. ลืม Password ต้องทำอย่างไร
กรอกอีเมล ครู-อาจารย์ ที่เคยสมัครเป็นสมาชิก -> กดลืม Password -> ระบบจะทำการส่ง Password ไปยังอีเมลของท่าน และครู-อาจารย์สามารถกดลิงค์เข้าสู่ระบบแล้วแก้ Password ใหม่อีกครั้ง
9. หากต้องการ เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายชื่อผู้เข้าประกวดและรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร
ครูสามารถทำได้เมื่อเข้าระบบแล้วให้เลือกใบสมัครที่ต้องการแก้ไข -> กดรายละเอียด -> กดแก้ไขใบสมัคร ->เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายชื่อ -> กดบันทึก
10. หากสมัครผิดรุ่นหรือผิดประเภทต้องทำอย่างไร
เลือกใบสมัครที่ต้องการแก้ไข -> กดรายละเอียด -> กดยกเลิกสมัครและทำการกรอกใบสมัครใหม่
11. ครูและนักเรียนที่เข้าประกวดถึงแม้จะไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะได้รับอะไรบ้าง
ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมการประกวดทุกท่านนอกจากจะได้ประสบการณ์การประกวดแล้ว ยังจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากโครงการฯ โดยสามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรได้เองหลังการประกวดรอบคัดเลือกเสร็จสิ้น จำเป็นต้องตรวจสอบรายชื่อ และตัวสะกดให้ถูกต้อง เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขได้หลังจากพิมพ์ใบประกาศนียบัตรแล้ว โดยใบประกาศนียบัตรในปีนี้เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์



การพูดต่อหน้าสาธารณชน




ค้นหาตารางการประกวด


ทำการค้นหา






อุดหนุนสินค้า

ติดตามข่าวสาร


© สงวนลิขสิทธิ์ 2559 มูลนิธิทีทีบี

มูลนิธิทีทีบีไม่มีนโยบายในการให้เจ้าหน้าที่หรือเด็กไฟ-ฟ้า ขอรับบริจาคเงินหรือสิ่งของใด ๆ โดยตรงจากประชาชนหรือผู้เข้าเยี่ยมศูนย์ฯ
*หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อมูลนิธิทีทีบี ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2299 1956 หรืออีเมล : info@ttbfoundation.org

ติดต่อมูลนิธิ
0 2299 1956



อุดหนุนสินค้า

ติดตามข่าวสาร


© สงวนลิขสิทธิ์ 2559 มูลนิธิทีทีบี

มูลนิธิทีทีบีไม่มีนโยบายในการให้เจ้าหน้าที่หรือเด็กไฟ-ฟ้า ขอรับบริจาคเงินหรือสิ่งของใด ๆ โดยตรงจากประชาชนหรือผู้เข้าเยี่ยมศูนย์ฯ
*หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อมูลนิธิทีทีบี ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2299 1956 หรืออีเมล : info@ttbfoundation.org

ติดต่อมูลนิธิ
0 2299 1956



อุดหนุนสินค้า

ติดตามข่าวสาร


© สงวนลิขสิทธิ์ 2559 มูลนิธิทีทีบี

มูลนิธิทีทีบีไม่มีนโยบายในการให้เจ้าหน้าที่หรือเด็กไฟ-ฟ้า ขอรับบริจาคเงินหรือสิ่งของใด ๆ โดยตรงจากประชาชนหรือผู้เข้าเยี่ยมศูนย์ฯ
*หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อมูลนิธิทีทีบี ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2299 1956 หรืออีเมล : info@ttbfoundation.org

ติดต่อมูลนิธิ
0 2299 1956